ย้ายบ้านนะครับ ... ติดตามบทความได้ที่ www.drchawtoo.com
Pages
▼
Tuesday, July 15, 2014
Tuesday, July 8, 2014
หมอๆ หนูโดนของ !!!
วันก่อนผมเพิ่งจะผ่าตัดเลาะซีสต์ที่รังไข่โดยวิธีส่องกล้องให้กับคนไข้หญิงวัยกลางคนท่านหนึ่งไป ภายหลังผ่าตัดผมก็โชว์รูปถ่ายถุงน้ำรังไข่ที่ผ่าตัดเลาะออกมาให้คนไข้และญาติๆดู อธิบายถึงสิ่งที่พบในห้องผ่าตัดไปว่าซีสต์ของคนไข้นั้นขนาดราวๆ 8 เซนติเมตร มีของเหลวลักษณะคล้ายน้ำมัน มีก้อนไขมัน มีเศษผม หนังศีรษะ และฟัน อยู่ภายใน คนไข้และญาติมองหน้ากัน แสดงสีหน้าประหลาดใจ แล้วก็บรรลัยครับทีนี้ เถียงกันต่างๆนา เสียงดังเจี๊ยวจ๊าวลั่นห้อง แล้วคนไข้ก็ถามออกมาว่า “ หมอๆ อย่างนี้แสดงว่าหนูโดนคุณไสย์ใช่มั้ย ??? ”
Thursday, July 3, 2014
Q&A : หลังผ่าตัดคลอด ไม่ควรรับประทานไข่ขาวเพราะจะทำให้แผลเป็นนูน จริงหรือไม่คะ ?
คุณแม่หลายท่านที่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดเพราะไม่สามารถคลอดบุตรด้วยวิธีการธรรมชาติได้ คงมีความกังวลใจกลัวว่าแผลผ่าตัดจะไม่สวย เป็นแผลเป็นนูน และมีความเชื่อว่าไม่ควรรับประทานไข่ขาวเพราะจะทำให้แผลเป็นนูน ดูไม่สวย จริงๆแล้วตรงกันข้ามเลยครับ ควรรับประทานเสียด้วยซ้ำเพราะไข่ขาวเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่หาง่ายและราคาไม่แพง สารอาหารประเภทโปรตีนมีความสำคัญในด้ายการช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งก็รวมถึงแผลผ่าตัดด้วย ทำให้แผลหายไว และคุณแม่ฟื้นตัวได้เร็วอีกทั้งยังมีประโยชน์ด้านการนำไปใช้สร้างน้ำนมให้ลูกน้อยอีกด้วย ดังนั้นการห้ามรับประทานไข่ขาวถือว่าเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนะครับ เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลเป็นนั้นมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
- ลักษณะของผิวหนัง ซึ่งมาจากพื้นฐานของผิวหนังของแต่ละคน ตามกรรมพันธุ์
- จำนวนครั้งของการผ่าตัด กรณีที่ผ่านการผ่าตัดซ้ำหลายครั้ง จะมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นนูน สีคล้ำเข้ม ดูไม่สวยงามเกิดขึ้นได้บ่อยกว่า
- แรงตึงบริเวณขอบแผลมากๆ แผลผ่าตัดที่มีทำให้การซ่อมแซมบาดแผลเกิดได้ไม่ดีนัก เช่น
- แผลผ่าตัดใหญ่ๆ ที่ขอบแผล 2ข้าง มีระยะห่างกันมากๆ จะมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นได้บ่อยกว่าแผลผ่าตัดขนาดเล็ก
- เทคนิคการเย็บของแพทย์ก็มีส่วนช่วยลดแรงตึงบริเวณขอบแผล ทำให้ลดโอกาสเกิดแผลเป็นได้ครับ
- แผลผ่าตัดแยก มีผลให้เกิดการซ่อมแซมที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ออกแรงขยับเขยื้อนบริเวณที่ผ่าตัดมากเกินไปในขณะที่แผลยังไม่หายดี
- การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด มีผลกระตุ้นการเกิดรอยแผลเป็นตามมาได้
- ไหมที่ใช้เย็บแผล หากเป็นไหมละลายที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อต้าน สามารถทำให้เกิดกระบวนการอักเสบ ส่งผลให้เกิดรอยแผลเป็นได้มากขึ้นครับ
- การดูแลผิวพรรณ การหมั่นดูแลแผลผ่าคลอดอย่างสม่ำเสมอ ครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินอีทาก็ช่วยทำให้แผลเป็นนุ่มและสีจางลงได้ครับ แต่อาจต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร
วิธีการดูแลแผลผ่าตัดคลอดเบื้องต้น
- ควรลุกนั่ง ขยับตัว เดินรอบๆเตียง ให้เร็วที่สุดภายหลังจากผ่าตัดคลอด แต่ไม่ต้องหักโหม เพราะอาจทำให้แผลผ่าตัดแยกได้ หากวิงเวียนศรีษะ หรือปวดแผลมากก็ให้พักหรือรอให้รู้สึกดีก่อนค่อยเริ่มใหม่ ถ้าทำได้ตั้งแต่วันแรกๆภายหลังผ่าตัดจะดีมากครับ ช่วยให้ลำไส้กลับมาทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้น ไม่อืดแน่นท้อง ไม่คลื่นไส้อาเจียน รับประทานและกลับบ้านได้เร็วขึ้น
- หากไม่ยอมเคลื่อนไหวเลย มีโอกาสที่จะเกิดพังผืดขึ้นกับอวัยวะต่างๆภายในช่องท้อง เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากจากการที่ท่อนำไข่อุดตัน เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดบุตรคนต่อไปทำได้ยาก หรือมีโอกาสที่จะท้องผูกเรื้อรังในอนาคต
- ผ้ายืดรัดหน้าท้อง สามารถช่วยประคองหน้าท้องส่วนเกินหลังผ่าตัดคลอดไม่ให้ย้อยมากดทับแผลผ่าตัด อีกทั้งยังช่วยพยุงผนังหน้าท้องและกล้ามเนื้อส่วนหลังเวลาเดิน จึงช่วยลดความเจ็บปวดลงไปได้มากเลยทีเดียวครับ
- แผลผ่าตัดคลอดที่ปิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ ไม่จำเป็นต้องเปิดล้างแผลทุกวัน สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แต่หลีกเลี่ยงการฟอกสบู่หรือแกะ เกาบริเวณแผล เพราะอาจทำให้พลาสเตอร์ลอกหลุด ทำให้น้ำเข้าได้ และควรซับให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำ ทิ้งไว้ราวๆ 7 วันจึงไปพบแพทย์เพื่อเปิดแผล และ/หรือตัดไหมครับ
- หากแผลผ่าตัดบวม แดง กดเจ็บ มีเลือดซึม หรือมีไข้ ให้รีบพบแพทย์เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อ หรือแพ้พลาสเตอร์ปิดแผลได้ครับ
- พยายามดื่มน้ำเยอะๆ งดกลั้นปัสสาวะ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีน โดยที่หาได้ง่ายๆคือ ไข่ขาวต้ม เพราะมีส่วนช่วยซ่อมแซมให้บาดแผลหายได้เร็วขึ้นครับ
- ในช่วง 2-4 สัปดาห์แรก ไม่ควรยกของหนัก ขยับตัวได้เท่าที่ไม่รู้สึกเจ็บ หากเจ็บหรือรู้สึกตึง ๆ แสดงว่า ยืดเหยียดแผลมากเกินไป แผลจะหายสนิทดี และสามารถออกกำลังกายได้ ราวๆ 3-6 เดือน ในบางรายอาจรู้สึกเสียวๆหรือมีอาการชาบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งอาการจะค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ
- เมื่อแผลแห้งสนิท หากมีรอยแผลเป็น สามารถใช้ครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินอีทาก็ช่วยทำให้แผลเป็นนุ่มและสีจางลงได้ครับ